“ครูแว่นดำ” และทีมงาน จัดทำ MV เพลง “สวนยางทุกอำเภอทำเพ้อไม่อดตาย” โดยใช้ทำนองเพลงของศิลปินลิลลี่ ได้หมดถ้าสดชื่น เพื่อสะท้อนอาชีพชาวสวนยางในยุคราคาตกต่ำให้ต่อสู้ต่อไป
“ยางพารา” นับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย เริ่มนำมาปลูกครั้งแรกที่ อ.กันตัง จ.ตรัง ตั้งแต่เมื่อ พ.ศ.2442 หรือเมื่อประมาณ 120 ปีมาแล้ว ในสมัยที่ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิสรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) บิดายางพาราไทย เป็นเจ้าเมืองตรัง ก่อนที่จะแพร่หลายไปในเขตจังหวัดภาคใต้ และขยายไปสู่ทุกพื้นที่ของประเทศไทย จนสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรทั่วทั้งประเทศ ผลผลิตสามารถส่งออกนำเงินเข้าประเทศได้อย่างมหาศาลมาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันด้วยสภาพเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ยางพารามีราคาตกต่ำลง จนเกษตรกรได้รับความเดือดร้อน หลายคนเลือกที่จะเลิกทำสวนยางพารา และขายที่ดิน หรือบางคนก็โค่นสวนยางพารา และหันไปปลูกพืชชนิดอื่นๆ จนทำให้พื้นที่สวนยางพาราลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ในความเป็นจริงยางพาราเป็นพืชที่มีจุดแข็งหลายประการ คือปลูกง่าย โตง่าย ดูแลไม่ยาก ให้ผลผลิตต่อเนื่องยาวนานนับสิบปี ส่วนไม้ยางพาราก็สามารถขายได้ในราคาที่สูง ที่สำคัญคือ พื้นที่ในสวนยางพารายังสามารถปลูกพืชนิดอื่นๆ ได้ด้วย เช่น พืชผักสวนครัว หรือผลไม้ รวมทั้งเลี้ยงสัตว์ หรือทำบ่อเลี้ยงปลา สร้างรายได้อย่างงดงามให้แก่เกษตรกร ที่เดินตามรอยศาสตร์พระราชา “เกษตรผสมผสาน” หรือ “เกษตรทฤษฎีใหม่” ของในหลวง รัชกาลที่ ๙
นายชาตรี บุญมี หรือ “ครูแว่นดำ” ครูภาษาไทยผู้พิการทางการมองเห็น แห่งโรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี อ.กันตัง จ.ตรัง และทีมงาน จึงได้จัดทำ MV เพลง “สวนยางทุกอำเภอทำเพ้อไม่อดตาย” โดยใช้ทำนองเพลง “เลิกคุยทั้งอำเภอเพื่อเธอคนเดียว” ของศิลปินลิลลี่ ได้หมดถ้าสดชื่น ซึ่งกำลังโด่งดัง และเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ โดยมี นายธัญพงษ์ คงบางยาง และ น.ส.ปวันรัตน์ ผ่องศรี จากโรงเรียนกันตังพิทยากร รวมทั้ง ด.ญ.นภัสวรรณ โสเชื้อ จากโรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี มาช่วยขับร้อง
ทั้งนี้ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของชาวสวนยางพารา ตลอดจนส่งเสริมให้ชาวสวนยางพาราหันมาสนใจทำเกษตรอินทรีย์ และเกษตรผสมผสาน เพื่อสร้างรายได้เสริมในยุคที่ราคายางพาราตกต่ำ เพราะจะให้รอรัฐบาลมาช่วยแก้ปัญหาก็คงไม่ทันการณ์ พร้อมอยากฝากลูกหลานชาวสวนยางทุกคนให้ภูมิใจในอาชีพของบรรพบุรุษ อย่าละทิ้งอาชีพชาวสวนยางพารา ซึ่งเป็นมรดกของบรรพชน โดยช่วยกันสืบสานและต่อยอดให้อาชีพทำสวนยางพารา เป็นอาชีพที่มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ด้วยความรู้ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ในโลกอนาคตที่จะขับเคลื่อนได้ด้วยนวัตกรรม
“ยางพารา” นับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย เริ่มนำมาปลูกครั้งแรกที่ อ.กันตัง จ.ตรัง ตั้งแต่เมื่อ พ.ศ.2442 หรือเมื่อประมาณ 120 ปีมาแล้ว ในสมัยที่ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิสรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) บิดายางพาราไทย เป็นเจ้าเมืองตรัง ก่อนที่จะแพร่หลายไปในเขตจังหวัดภาคใต้ และขยายไปสู่ทุกพื้นที่ของประเทศไทย จนสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรทั่วทั้งประเทศ ผลผลิตสามารถส่งออกนำเงินเข้าประเทศได้อย่างมหาศาลมาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันด้วยสภาพเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ยางพารามีราคาตกต่ำลง จนเกษตรกรได้รับความเดือดร้อน หลายคนเลือกที่จะเลิกทำสวนยางพารา และขายที่ดิน หรือบางคนก็โค่นสวนยางพารา และหันไปปลูกพืชชนิดอื่นๆ จนทำให้พื้นที่สวนยางพาราลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ในความเป็นจริงยางพาราเป็นพืชที่มีจุดแข็งหลายประการ คือปลูกง่าย โตง่าย ดูแลไม่ยาก ให้ผลผลิตต่อเนื่องยาวนานนับสิบปี ส่วนไม้ยางพาราก็สามารถขายได้ในราคาที่สูง ที่สำคัญคือ พื้นที่ในสวนยางพารายังสามารถปลูกพืชนิดอื่นๆ ได้ด้วย เช่น พืชผักสวนครัว หรือผลไม้ รวมทั้งเลี้ยงสัตว์ หรือทำบ่อเลี้ยงปลา สร้างรายได้อย่างงดงามให้แก่เกษตรกร ที่เดินตามรอยศาสตร์พระราชา “เกษตรผสมผสาน” หรือ “เกษตรทฤษฎีใหม่” ของในหลวง รัชกาลที่ ๙
นายชาตรี บุญมี หรือ “ครูแว่นดำ” ครูภาษาไทยผู้พิการทางการมองเห็น แห่งโรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี อ.กันตัง จ.ตรัง และทีมงาน จึงได้จัดทำ MV เพลง “สวนยางทุกอำเภอทำเพ้อไม่อดตาย” โดยใช้ทำนองเพลง “เลิกคุยทั้งอำเภอเพื่อเธอคนเดียว” ของศิลปินลิลลี่ ได้หมดถ้าสดชื่น ซึ่งกำลังโด่งดัง และเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ โดยมี นายธัญพงษ์ คงบางยาง และ น.ส.ปวันรัตน์ ผ่องศรี จากโรงเรียนกันตังพิทยากร รวมทั้ง ด.ญ.นภัสวรรณ โสเชื้อ จากโรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี มาช่วยขับร้อง
ทั้งนี้ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของชาวสวนยางพารา ตลอดจนส่งเสริมให้ชาวสวนยางพาราหันมาสนใจทำเกษตรอินทรีย์ และเกษตรผสมผสาน เพื่อสร้างรายได้เสริมในยุคที่ราคายางพาราตกต่ำ เพราะจะให้รอรัฐบาลมาช่วยแก้ปัญหาก็คงไม่ทันการณ์ พร้อมอยากฝากลูกหลานชาวสวนยางทุกคนให้ภูมิใจในอาชีพของบรรพบุรุษ อย่าละทิ้งอาชีพชาวสวนยางพารา ซึ่งเป็นมรดกของบรรพชน โดยช่วยกันสืบสานและต่อยอดให้อาชีพทำสวนยางพารา เป็นอาชีพที่มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ด้วยความรู้ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ในโลกอนาคตที่จะขับเคลื่อนได้ด้วยนวัตกรรม
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก ผู้จัดการออนไลน์
Tags
ข่าวเมืองตรัง