กฟภ. ช่วยแบ่งเบาภาระค่าไฟฟ้า ประเภทบ้านอยู่อาศัย ประเภท 1.1.1 เฮดัง ๆ ได้ใช้ไฟฟรี 3 เดือน ส่วนประเภท 1.1.2 คำนวณจากฐานค่าไฟเดือนมีนาคม มาดูวิธีคำนวณค่าไฟ ทำอย่างไร สรุปต้องจ่ายกี่หน่วย ดูเลย
จากกรณี การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หรือ PEA ออกมาตรการปรับปรุงค่าไฟ เดือนเมษายน 2563 เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 รวมถึงการคืนเงินค่าไฟ สำหรับคนที่จ่ายค่าไฟ เดือนเมษายน 2563 ไปก่อนที่จะมีประกาศปรับปรุงจาก กฟภ. ซึ่งหลายคนกำลังรอความชัดเจนอยู่ว่า จะมีการช่วยเหลืออย่างไรบ้าง ประเภทไหนบ้าง สรุปแล้วต้องจ่ายเงินเท่าไร มีวิธีการคำนวณเงินค่าไฟฟ้าอย่างไร กระปุกดอทคอม รวบรวมข้อมูลว่าไว้ให้หมดแล้ว
วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ชี้แจงแนวทางปฏิบัติของมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้า ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563 เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ใบแจ้งค่าไฟฟ้าประจำเดือนเมษายน - มิถุนายน 2563 ดังนี้
มาตรการช่วยค่าไฟจาก กฟภ.
1. ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.1.1 คือ ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์ และมีหน่วยการใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน : ใช้ไฟฟ้าฟรี
2. ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.1.2 คือ ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งมิเตอร์เกิน 5 แอมป์ขึ้นไป และผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย ที่มียอดการใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยติดต่อกัน 3 เดือน และประเภท 1.2 (อัตราเลือก) : ให้ชำระค่าไฟฟ้า โดยใช้หน่วยการใช้ไฟฟ้าตาม "ใบแจ้งค่าไฟฟ้าประจำเดือนมีนาคม 2563" เป็นหน่วยเดือนฐานสำหรับคิดค่าไฟฟ้า และขึ้นอยู่กับหน่วยการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน แบ่งเป็น 4 เงื่อนไข ดังนี้
- หน่วยการใช้ไฟฟ้าน้อยกว่า หน่วยเดือนฐาน คิดหน่วยตามที่ใช้จริง
- หน่วยการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 800 หน่วย คิดหน่วย = หน่วยเดือนฐาน
- หน่วยการใช้ไฟฟ้า เกิน 800 หน่วย แต่ไม่เกิน 3,000 หน่วย คิดหน่วย = หน่วยเดือนฐาน + (ส่วนที่เกินจากหน่วยเดือนฐาน x 50%)
- หน่วยการใช้ไฟฟ้า เกิน 3,000 หน่วย คิดหน่วย = หน่วยเดือนฐาน + (ส่วนที่เกินจากหน่วยเดือนฐาน x 70%)
วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ชี้แจงแนวทางปฏิบัติของมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้า ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563 เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ใบแจ้งค่าไฟฟ้าประจำเดือนเมษายน - มิถุนายน 2563 ดังนี้
มาตรการช่วยค่าไฟจาก กฟภ.
1. ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.1.1 คือ ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์ และมีหน่วยการใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน : ใช้ไฟฟ้าฟรี
2. ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.1.2 คือ ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งมิเตอร์เกิน 5 แอมป์ขึ้นไป และผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย ที่มียอดการใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยติดต่อกัน 3 เดือน และประเภท 1.2 (อัตราเลือก) : ให้ชำระค่าไฟฟ้า โดยใช้หน่วยการใช้ไฟฟ้าตาม "ใบแจ้งค่าไฟฟ้าประจำเดือนมีนาคม 2563" เป็นหน่วยเดือนฐานสำหรับคิดค่าไฟฟ้า และขึ้นอยู่กับหน่วยการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน แบ่งเป็น 4 เงื่อนไข ดังนี้
- หน่วยการใช้ไฟฟ้าน้อยกว่า หน่วยเดือนฐาน คิดหน่วยตามที่ใช้จริง
- หน่วยการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 800 หน่วย คิดหน่วย = หน่วยเดือนฐาน
- หน่วยการใช้ไฟฟ้า เกิน 800 หน่วย แต่ไม่เกิน 3,000 หน่วย คิดหน่วย = หน่วยเดือนฐาน + (ส่วนที่เกินจากหน่วยเดือนฐาน x 50%)
- หน่วยการใช้ไฟฟ้า เกิน 3,000 หน่วย คิดหน่วย = หน่วยเดือนฐาน + (ส่วนที่เกินจากหน่วยเดือนฐาน x 70%)
วิธีการคำนวณค่าไฟ
ยกตัวอย่าง เดือนมีนาคม ใช้ไฟฟ้าไปทั้งหมด 500 หน่วย ดังนั้นหน่วยเดือนฐานคือ 500 หน่วย ให้คิดค่าไฟฟ้า ดังนี้...
- ใช้ไฟฟ้าน้อยกว่า หน่วยเดือนฐาน คิดหน่วยตามที่ใช้จริง คือ สมมติว่าเดือนเมษายน ใช้ไฟฟ้า 400 หน่วย ก็จะคิดค่าไฟ 400 หน่วยเหมือนเดิม ไม่ต้องจ่ายตามเดือนมีนาคม ที่ใช้ไป 500 หน่วย
- ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 800 หน่วย คิดหน่วย = หน่วยเดือนฐาน คือ สมมติว่าเดือนเมษายน ใช้ไฟฟ้า 700 หน่วย คิดค่าไฟฟ้าเท่าเดือนมีนาคม คือ 500 หน่วยเท่านั้น
- ใช้ไฟเกิน 800 หน่วย แต่ไม่เกิน 3,000 หน่วย สมมติว่าเดือนเมษายน ใช้ไฟฟ้า 1,500 หน่วย วิธีคิดคือ 500 + [(1,500-500) x 50%] = 1,000 หน่วย ดังนั้น ในเดือนเมษายน ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าที่ 1,000 หน่วย
- ใช้ไฟฟ้า เกิน 3,000 หน่วย สมมติว่าเดือนเมษายน ใช้ไฟฟ้า 3,500 หน่วย วิธีคิดคือ 500 + [(3,500-500) x 70%] = 2,600 หน่วย ดังนั้น ในเดือนเมษายน ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าที่ 2,600 หน่วย
อย่างไรก็ตาม สำหรับใครที่จ่ายเงินค่าไฟฟ้าของเดือนเมษายน 2563 ไปแล้วตามใบแจ้งค่าไฟ กฟภ. ท่านไม่ต้อง ลงทะเบียนรับเงินค่าไฟ แต่ท่านจะคืนเงินโดยการหักจากค่าไฟประจำเดือน ดังนี้
- ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.1.1 หักคืนให้ในเดือนกรกฎาคม 2563 เนื่องจากกลุ่มนี้ได้ใช้ไฟฟ้าฟรีในเดือนเมษายน - มิถุนายน จ่ายค่าไฟอีกทีคือเดือนกรกฎาคม จึงจะหักคืนให้ในเดือนนั้น
- ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.1.2 และ 1.2 คืนให้ในเดือนพฤษภาคม 2563
อ่านข่าว : ไขข้อข้องใจ บิลค่าไฟ 1 ใบ มีอะไรบ้าง เจอค่าไฟแพงผิดปกติแจ้งที่ไหนได้บ้าง
ยกตัวอย่าง เดือนมีนาคม ใช้ไฟฟ้าไปทั้งหมด 500 หน่วย ดังนั้นหน่วยเดือนฐานคือ 500 หน่วย ให้คิดค่าไฟฟ้า ดังนี้...
- ใช้ไฟฟ้าน้อยกว่า หน่วยเดือนฐาน คิดหน่วยตามที่ใช้จริง คือ สมมติว่าเดือนเมษายน ใช้ไฟฟ้า 400 หน่วย ก็จะคิดค่าไฟ 400 หน่วยเหมือนเดิม ไม่ต้องจ่ายตามเดือนมีนาคม ที่ใช้ไป 500 หน่วย
- ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 800 หน่วย คิดหน่วย = หน่วยเดือนฐาน คือ สมมติว่าเดือนเมษายน ใช้ไฟฟ้า 700 หน่วย คิดค่าไฟฟ้าเท่าเดือนมีนาคม คือ 500 หน่วยเท่านั้น
- ใช้ไฟเกิน 800 หน่วย แต่ไม่เกิน 3,000 หน่วย สมมติว่าเดือนเมษายน ใช้ไฟฟ้า 1,500 หน่วย วิธีคิดคือ 500 + [(1,500-500) x 50%] = 1,000 หน่วย ดังนั้น ในเดือนเมษายน ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าที่ 1,000 หน่วย
- ใช้ไฟฟ้า เกิน 3,000 หน่วย สมมติว่าเดือนเมษายน ใช้ไฟฟ้า 3,500 หน่วย วิธีคิดคือ 500 + [(3,500-500) x 70%] = 2,600 หน่วย ดังนั้น ในเดือนเมษายน ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าที่ 2,600 หน่วย
อย่างไรก็ตาม สำหรับใครที่จ่ายเงินค่าไฟฟ้าของเดือนเมษายน 2563 ไปแล้วตามใบแจ้งค่าไฟ กฟภ. ท่านไม่ต้อง ลงทะเบียนรับเงินค่าไฟ แต่ท่านจะคืนเงินโดยการหักจากค่าไฟประจำเดือน ดังนี้
- ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.1.1 หักคืนให้ในเดือนกรกฎาคม 2563 เนื่องจากกลุ่มนี้ได้ใช้ไฟฟ้าฟรีในเดือนเมษายน - มิถุนายน จ่ายค่าไฟอีกทีคือเดือนกรกฎาคม จึงจะหักคืนให้ในเดือนนั้น
- ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.1.2 และ 1.2 คืนให้ในเดือนพฤษภาคม 2563
อ่านข่าว : ไขข้อข้องใจ บิลค่าไฟ 1 ใบ มีอะไรบ้าง เจอค่าไฟแพงผิดปกติแจ้งที่ไหนได้บ้าง
Tags
ข่าวทั่วทิศ