ผู้ว่าฯ จ.ตรัง สั่งกำชับไปยังทุกโรงพยาบาลชุมชน ให้ดูแลอาหารให้แก่ประชาชนอย่างเพียงพอ ตลอดการรักษาตัวด้วยโรคโควิด-19 เป็นเวลา 10 วัน ตามงบที่ได้รับจัดสรรมาจาก สปสช. และมียาให้ทุกคนได้กินอย่างทั่วถึง
วันนี้ (25 ก.พ.) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดตรัง ชั้น 5 นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตรัง เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และแนวทางการป้องกันควบคุมการระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยได้หยิบยกประเด็นปัญหาเรื่องการแจกถุงยังชีพเพียง 1 ถุง ให้แก่ประชาชนตลอดการรักษาตัวด้วยโรคโควิด-19 เป็นเวลา 10 วัน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของประชาชน และไม่เหมาะสมกับราคาที่ได้รับการจัดสรร โดยถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหา และนำเข้าสู่วาระเพื่อพิจารณา
ขณะเดียวกัน นพ.ตุลกานต์ มักคุ้น โฆษก ศบค.ตรัง กล่าวว่า กรณีถุงยังชีพที่ประชาชนร้องเรียนนั้น ทางจังหวัดขอน้อมรับความผิดพลาด และต้องขอบคุณประชาชนที่ช่วยสะท้อนปัญหามาให้ทางจังหวัดได้เร่งแก้ไข โดยสาเหตุเกิดจากปัญหาที่ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจำนวนมากอย่างกะทันหัน ทำให้การบริการจัดการขลุกขลัก โดยในวันนี้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้สั่งกำชับเน้นย้ำไปยังทุกโรงพยาบาลชุมชน ให้จัดสรรอาหารสำเร็จรูปให้แก่ประชาชนวันละ 3 มื้อ ตามที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณมาจาก สปสช. ในการดูแลประชาชนวันละ 600 บาทต่อหัว

โดยแบ่งเป็นค่ารักษาพยาบาล 200 บาทต่อวันต่อคน และค่าอาหารวันละ 400 บาทต่อวันต่อคน แต่ในที่นี้รวมค่าบริหารจัดการด้วย โดยทางจังหวัดยังซักซ้อมความเข้าใจกับโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง เพื่อให้บริการประชาชนได้ครบถ้วนตามมาตรฐานบริการทางการแพทย์ ซึ่งหลังจากนี้ทุกรายจะได้รับอาหารสำเร็จรูปวันละ 3 มื้อ โดยการให้ชุมชนว่าจ้างร้านอาหารในชุมชนจัดทำ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนทุกราย หรือหากใครจะขอรับเป็นถุงยังชีพก็ได้ แต่ทางโรงพยาบาลจะต้องจัดให้เพียงพอต่อการดำรงชีพตลอด 10 วัน
ส่วนเรื่องของยาเวชภัณฑ์นั้น จังหวัดตรังเคยขาดยาฟาวิพิราเวียร์เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงเฉลี่ยวันละประมาณ 500-600 รายต่อวัน จึงทำให้เกินสต็อกยาที่มีอยู่ แต่ขณะนี้ได้รับการจัดสรรมาแล้ว จำนวน 100,000 เม็ด และขณะนี้กรมการแพทย์ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการให้ยารักษา คือการให้ยาฟาวิพิราเวียร์กรณีเป็นผู้ป่วยสีเหลือง โดยเกณฑ์จะต้องอุณหภูมิเกิน 39 องศาเซลเซียสติดต่อกัน 24 ชั่วโมง หายใจเกิน 25 ครั้ง หรือมีความอิ่มของค่าออกซิเจนต่ำกว่า 95% ซึ่งมีผู้ป่วยกลุ่มนี้ประมาณ 100-150 รายต่อวัน และขณะนี้มียาเพียงพอต่อประชาชนอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์

วันนี้ (25 ก.พ.) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดตรัง ชั้น 5 นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตรัง เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และแนวทางการป้องกันควบคุมการระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยได้หยิบยกประเด็นปัญหาเรื่องการแจกถุงยังชีพเพียง 1 ถุง ให้แก่ประชาชนตลอดการรักษาตัวด้วยโรคโควิด-19 เป็นเวลา 10 วัน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของประชาชน และไม่เหมาะสมกับราคาที่ได้รับการจัดสรร โดยถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหา และนำเข้าสู่วาระเพื่อพิจารณา
ขณะเดียวกัน นพ.ตุลกานต์ มักคุ้น โฆษก ศบค.ตรัง กล่าวว่า กรณีถุงยังชีพที่ประชาชนร้องเรียนนั้น ทางจังหวัดขอน้อมรับความผิดพลาด และต้องขอบคุณประชาชนที่ช่วยสะท้อนปัญหามาให้ทางจังหวัดได้เร่งแก้ไข โดยสาเหตุเกิดจากปัญหาที่ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจำนวนมากอย่างกะทันหัน ทำให้การบริการจัดการขลุกขลัก โดยในวันนี้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้สั่งกำชับเน้นย้ำไปยังทุกโรงพยาบาลชุมชน ให้จัดสรรอาหารสำเร็จรูปให้แก่ประชาชนวันละ 3 มื้อ ตามที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณมาจาก สปสช. ในการดูแลประชาชนวันละ 600 บาทต่อหัว
โดยแบ่งเป็นค่ารักษาพยาบาล 200 บาทต่อวันต่อคน และค่าอาหารวันละ 400 บาทต่อวันต่อคน แต่ในที่นี้รวมค่าบริหารจัดการด้วย โดยทางจังหวัดยังซักซ้อมความเข้าใจกับโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง เพื่อให้บริการประชาชนได้ครบถ้วนตามมาตรฐานบริการทางการแพทย์ ซึ่งหลังจากนี้ทุกรายจะได้รับอาหารสำเร็จรูปวันละ 3 มื้อ โดยการให้ชุมชนว่าจ้างร้านอาหารในชุมชนจัดทำ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนทุกราย หรือหากใครจะขอรับเป็นถุงยังชีพก็ได้ แต่ทางโรงพยาบาลจะต้องจัดให้เพียงพอต่อการดำรงชีพตลอด 10 วัน
ส่วนเรื่องของยาเวชภัณฑ์นั้น จังหวัดตรังเคยขาดยาฟาวิพิราเวียร์เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงเฉลี่ยวันละประมาณ 500-600 รายต่อวัน จึงทำให้เกินสต็อกยาที่มีอยู่ แต่ขณะนี้ได้รับการจัดสรรมาแล้ว จำนวน 100,000 เม็ด และขณะนี้กรมการแพทย์ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการให้ยารักษา คือการให้ยาฟาวิพิราเวียร์กรณีเป็นผู้ป่วยสีเหลือง โดยเกณฑ์จะต้องอุณหภูมิเกิน 39 องศาเซลเซียสติดต่อกัน 24 ชั่วโมง หายใจเกิน 25 ครั้ง หรือมีความอิ่มของค่าออกซิเจนต่ำกว่า 95% ซึ่งมีผู้ป่วยกลุ่มนี้ประมาณ 100-150 รายต่อวัน และขณะนี้มียาเพียงพอต่อประชาชนอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์
พร้อมขอยืนยันว่าการตรวจพบเชื้อด้วย ATK ซึ่งต้องรักษาตัวที่บ้าน ก็จะได้รับยาฟ้าทลายโจรทุกราย และจะได้รับการติดตามจากแพทย์ และเจ้าหน้าที่ทุกราย ส่วนที่มีบางรายไม่ได้รับทั้งยาฟาวิพิราเวียร์ และยาฟ้าทลายโจร อาจจะเป็นเพราะเกิดความสับสน เนื่องจากขณะนี้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจหาเชื้อต่อวันบางโรงพยาบาลนับพันราย อาจทำให้ขลุกขลักในการบริหารจัดการ แต่หลังจากนี้จะไม่มีปัญหาแล้ว
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก ผู้จัดการออนไลน์
Tags
ข่าวเมืองตรัง