เร่งผลักดันขยาย “สนามบินตรัง” เป็นนานาชาติ หวังสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว ช่วยประชาชนที่ยากลำบาก เหตุจากยาง-ปาล์มราคาตก ขณะที่โครงการล่าสุดยังติดขัดหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องค่าเวนคืน
วันนี้ (28 มี.ค.) ที่โรงแรมธรรมรินทร์ธนา จ.ตรัง กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม ได้ร่วมกับ บริษัท เอ บี อี เอ็น เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นเจ้าภาพจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2 ในการขยายสนามบินตรังเป็นสนามบินนานาชาติ โดยการเชิญประชาชนเจ้าของที่ดินที่จะถูกเวนคืน รวมทั้งชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา สถาบันการศึกษาในชุมชน และผู้ที่สนใจเข้ารับฟังข้อมูล และเสนอปัญหาประมาณ 500 คน เพื่อนำข้อมูลปัญหาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากโครงการทั้งทางตรงและทางอ้อมไปประกอบการพิจารณาโครงการ โดยมี นายลือชัย เจริญทรัพย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธาน นอกจากนั้น นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีชาวตรัง ในฐานะที่เป็นผู้ติดตามประสานงานโครงการมาตลอด ได้เข้าร่วมประชุมรับฟังด้วย
ทั้งนี้ ท่าอากาศยานตรัง มีแผนพัฒนาท่าอากาศยานตรัง ทั้งการปรับปรุงขยายความยาวทางวิ่งไปทางด้านทิศตะวันตกอีก 1,145 เมตร ซึ่งจะได้ความยาวทางวิ่งเป็น 2,990 เมตร และพื้นที่ไฟนำร่องอีก 225 เมตร รวมทั้งการย้ายที่ทำการ ลานจอดเครื่องบิน และสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ ที่จะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ จำนวน 1,200 คนต่อชั่วโมง หรือประมาณ 40 เที่ยวบินต่อวัน อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุมรับฟังปัญหาพบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ต่างวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาเรื่องน้ำเสียที่จะตามมา รวมทั้งปัญหาค่าเวนคืนที่ดินในส่วนพื้นที่ขยาย และปัญหาผลกระทบด้านเสียงประมาณ 20 ครัวเรือน จนทำให้หลังคาบ้านร้าว
ซึ่งเจ้าหน้าที่จะรวบรวมความคิดเห็น และจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ก่อนส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อเสนอให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงสร้างพื้นฐานทางบก และทางอากาศพิจารณาให้ความเห็นชอบ จากนั้นจะนำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อพิจารณา และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
วันนี้ (28 มี.ค.) ที่โรงแรมธรรมรินทร์ธนา จ.ตรัง กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม ได้ร่วมกับ บริษัท เอ บี อี เอ็น เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นเจ้าภาพจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2 ในการขยายสนามบินตรังเป็นสนามบินนานาชาติ โดยการเชิญประชาชนเจ้าของที่ดินที่จะถูกเวนคืน รวมทั้งชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา สถาบันการศึกษาในชุมชน และผู้ที่สนใจเข้ารับฟังข้อมูล และเสนอปัญหาประมาณ 500 คน เพื่อนำข้อมูลปัญหาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากโครงการทั้งทางตรงและทางอ้อมไปประกอบการพิจารณาโครงการ โดยมี นายลือชัย เจริญทรัพย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธาน นอกจากนั้น นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีชาวตรัง ในฐานะที่เป็นผู้ติดตามประสานงานโครงการมาตลอด ได้เข้าร่วมประชุมรับฟังด้วย
ทั้งนี้ ท่าอากาศยานตรัง มีแผนพัฒนาท่าอากาศยานตรัง ทั้งการปรับปรุงขยายความยาวทางวิ่งไปทางด้านทิศตะวันตกอีก 1,145 เมตร ซึ่งจะได้ความยาวทางวิ่งเป็น 2,990 เมตร และพื้นที่ไฟนำร่องอีก 225 เมตร รวมทั้งการย้ายที่ทำการ ลานจอดเครื่องบิน และสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ ที่จะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ จำนวน 1,200 คนต่อชั่วโมง หรือประมาณ 40 เที่ยวบินต่อวัน อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุมรับฟังปัญหาพบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ต่างวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาเรื่องน้ำเสียที่จะตามมา รวมทั้งปัญหาค่าเวนคืนที่ดินในส่วนพื้นที่ขยาย และปัญหาผลกระทบด้านเสียงประมาณ 20 ครัวเรือน จนทำให้หลังคาบ้านร้าว
ซึ่งเจ้าหน้าที่จะรวบรวมความคิดเห็น และจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ก่อนส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อเสนอให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงสร้างพื้นฐานทางบก และทางอากาศพิจารณาให้ความเห็นชอบ จากนั้นจะนำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อพิจารณา และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
ด้านนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ผ่านมาตนได้พยายามวิ่งเต้นติดตามของบประมาณในสมัยที่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี มาได้ 2,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ และรวมทั้งขยายลานจอดเครื่องบิน 10 ลำ แต่ที่กำลังต้องการต่อไป และอยากให้ได้อย่างเร่งด่วนที่สุดคือ ขยายทางวิ่งของเครื่องบิน เพื่อรองรับเครื่องบินจากทั่วโลก รวมทั้งจะต้องเร่งเจรจากับชาวบ้านเพื่อจ่ายค่าเวนคืนที่ดิน ซึ่งทางปลัดกระทรวงคมนาคม ก็รับปากแล้วว่าจะตั้งงบประมาณให้ในปีต่อไป (พ.ศ. 2563)
ทั้งนี้ สาเหตุที่ต้องเร่งให้เกิดการพัฒนาท่าอากาศยานตรัง เพราะปีผ่านมาจังหวัดประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ จนรายได้ประชากรลดลงอย่างมาก เหลือประมาณ 14,000 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน ซึ่งถือว่าน้อยมาก แต่หากสามารถพัฒนาสนามบินได้เร็ว จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว และสร้างรายได้เข้ามาในพื้นที่เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน โดยปีนี้ จ.ตรัง มีรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 9,900 ล้านบาท ส่วนปีหน้าเชื่อว่าจะถึง 10,000 ล้านบาท
ขณะที่ จ.กระบี่ มีรายได้ปีละเป็นแสนล้านบาท และ จ.ภูเก็ต ปีละประมาณ 4 แสนล้านบาท ดังนั้น หากสนามบินตรังแล้วเสร็จนักท่องเที่ยวก็จะเข้ามา ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้นแน่นอน เพราะหวังพึ่งยางพารากับปาล์มน้ำมันไม่ได้อีกแล้ว แต่ จ.ตรัง คงจะเน้นจุดขายความเป็นธรรมชาติเป็นหลัก
ทั้งนี้ สาเหตุที่ต้องเร่งให้เกิดการพัฒนาท่าอากาศยานตรัง เพราะปีผ่านมาจังหวัดประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ จนรายได้ประชากรลดลงอย่างมาก เหลือประมาณ 14,000 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน ซึ่งถือว่าน้อยมาก แต่หากสามารถพัฒนาสนามบินได้เร็ว จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว และสร้างรายได้เข้ามาในพื้นที่เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน โดยปีนี้ จ.ตรัง มีรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 9,900 ล้านบาท ส่วนปีหน้าเชื่อว่าจะถึง 10,000 ล้านบาท
ขณะที่ จ.กระบี่ มีรายได้ปีละเป็นแสนล้านบาท และ จ.ภูเก็ต ปีละประมาณ 4 แสนล้านบาท ดังนั้น หากสนามบินตรังแล้วเสร็จนักท่องเที่ยวก็จะเข้ามา ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้นแน่นอน เพราะหวังพึ่งยางพารากับปาล์มน้ำมันไม่ได้อีกแล้ว แต่ จ.ตรัง คงจะเน้นจุดขายความเป็นธรรมชาติเป็นหลัก
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก ผู้จัดการออนไลน์
Tags
ข่าวเมืองตรัง