เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้มีการเผยแพร่ประกาศเรื่องสถาปนาสมเด็จพระราชินี ว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า โดยที่ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส กับ พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา ถูกต้องตามกฎหมาย และราชประเพณีโดยสมบูรณ์ทุกประการแล้ว
จึงมีพระราชโองการให้สถาปนา พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา พระอัครมเหสี เป็น สมเด็จพระราชินีสุทิดาทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป
จากนั้นในวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมเด็จพระราชินีสุทิดา ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ์ พระบรมราชินี
และเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 คณะรัฐมนตรี ก็มีมติเห็นชอบให้วันที่ 3 มิถุนายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เป็นวันหยุดราชการประจำปี
สำหรับพระราชประวัติของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ์ พระบรมราชินี ทรงมีพระนามเดิมว่า สุทิดา ติดใจ ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2521 ณ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ครอบครัวของพระองค์เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ทรงเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา จากนั้นจึงทรงเข้าศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ณ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จนจบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2543 ก่อนที่จะทรงเข้าทำงานเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของการบินไทย
จากนั้นทรงเข้าร่วมกองทัพเป็นนายทหารหญิง และทรงมีพระปรีชาสามารถยิ่งทางด้านการทหาร ทรงผ่านหลักสูตรการฝึกต่าง ๆ ทั้งหลักสูตรรักษาพระองค์ ยิงปืน และหลักสูตรโดดร่มลงทะเลในเวลากลางคืน ทรงมีความมุ่งมั่นในการฝึกยิ่ง และยังผ่านการศึกษาวิทยาลัยการทัพบก (วทบ.) รุ่น 59
กระทั่งในเดือนตุลาคม 2560 มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้า ฝ่ายใน ให้แก่พระองค์ และในเดือนธันวาคม ปีเดียวกัน มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระองค์ดํารงตําแหน่ง รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอกพิเศษ) และยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เป็นราชองครักษ์เวรในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์
โดยในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 นั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเครื่องราชอิสริยยศราชูปโภคสำหรับตำแหน่งสมเด็จพระอัครมเหสีให้แก่สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี โดยเครื่องราชอิสริยยศราชูปโภคเหล่านี้ประกอบด้วย
– พานพระศรี (พานใส่หมากพลู) ทองคำลงยา
– กาน้ำทองคำลงยา
– ขันน้ำพระสุธารสเย็น พร้อมจอกลอยทองคำลงยา
– หีบพระศรีทองคำลงยา พร้อมพานรอง
– พระสุพรรณศรี (กระโถนเล็ก)ทองคำลงยา
– ขันสรงพระพักตร์ทองคำลงยา พร้อมคลุมปัก
– พระฉาย (กระจกส่องหน้า) ทองคำลงยา
– พานเครื่องพระสำอาง พร้อมพระสางวงเดือน พระสางเสนียด และพระกรัณฑ์ทองคำลงยา สำหรับบรรจุเครื่องพระสำอาง
– ราวพระภูษาซับพระพักตร์ทองคำลงยารูปพญานาค พร้อมผ้าซับพระพักตร์จีบริ้วพาดที่ราว 2 ผืน
– กาน้ำทองคำลงยา
– ขันน้ำพระสุธารสเย็น พร้อมจอกลอยทองคำลงยา
– หีบพระศรีทองคำลงยา พร้อมพานรอง
– พระสุพรรณศรี (กระโถนเล็ก)ทองคำลงยา
– ขันสรงพระพักตร์ทองคำลงยา พร้อมคลุมปัก
– พระฉาย (กระจกส่องหน้า) ทองคำลงยา
– พานเครื่องพระสำอาง พร้อมพระสางวงเดือน พระสางเสนียด และพระกรัณฑ์ทองคำลงยา สำหรับบรรจุเครื่องพระสำอาง
– ราวพระภูษาซับพระพักตร์ทองคำลงยารูปพญานาค พร้อมผ้าซับพระพักตร์จีบริ้วพาดที่ราว 2 ผืน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ได้แก่
พ.ศ. 2555 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 3 ตริตราภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
พ.ศ. 2556 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
พ.ศ. 2556 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
พ.ศ. 2556 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
พ.ศ. 2557 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
พ.ศ. 2557 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
พ.ศ. 2559 เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)
พ.ศ. 2560 เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าฝ่ายใน (ป.จ.)
พ.ศ. 2562 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ และ เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่10 ชั้นที่1
พ.ศ. 2556 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
พ.ศ. 2556 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
พ.ศ. 2556 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
พ.ศ. 2557 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
พ.ศ. 2557 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
พ.ศ. 2559 เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)
พ.ศ. 2560 เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าฝ่ายใน (ป.จ.)
พ.ศ. 2562 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ และ เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่10 ชั้นที่1
ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
Tags
ข่าวทั่วทิศ