สมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมัน จ.ตรัง เห็นด้วยที่จะให้ยกเลิกการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม หลังจากที่ผลการตรวจสุ่มเกษตรกรในพื้นที่ พบสารตกค้างในเลือดในอัตราที่สูง
วันนี้ (5 ต.ค.) นายชัยฤทธิ์ ถ่ายย้วน นายกสมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมัน จ.ตรัง พร้อมกรรมการสมาคมจำนวนหนึ่งได้ร่วมกันปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาการใช้สารเคมีของเกษตรกรในยุคปัจจุบัน ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนและกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยผลจากการศึกษา วิเคราะห์ และถกปัญหาร่วมกันของกรรมการสมาคมเพื่อศึกษาผลกระทบจากการใช้สารเคมี พบว่า มีสารเคมีอย่างน้อย 3 ชนิดในปัจจุบันที่เกษตรกรควรเลิกใช้ คือ (1) ไกลโฟเซต (2) พาราควอต และ (3) คลอไพรีฟอส เพราะนอกจากตกค้างในดินเป็นเวลานาน ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรเองด้วย
“จากการตรวจเลือดของสมาชิกกลุ่มปาล์มแปลงใหญ่ตามมาตรฐาน RSPO ในพื้นที่ ต.กะลาเส อ.สิเกา จ.ตรัง เพื่อหาสารตกค้างในเลือด จำนวน 32 คน พบว่า มีสารปนเปื้อนหรือสารตกค้างในเลือดถึง 28 คน โดยเป็นสารตกค้างในเลือดที่ร้ายแรงจะต้องทำการรักษา จำนวน 4 คน สมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมัน จ.ตรัง จึงขอเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตรายเพื่อจะได้ศึกษารายละเอียดในเชิงลึก และหากคณะกรรมการวัตถุอันตรายมีความเห็นไปในทิศทางใด สมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมัน จ.ตรัง ก็พร้อมจะยอมรับ”
นางสถาพร ธีรกิจไพศาล กรรมการสมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมัน จ.ตรัง กล่าวว่า ประเทศไทยมีอัตราการเจ็บป่วยค่อนข้างมาก โรคมะเร็งก็มีอัตราการตายอันดับ 1 และโรคอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เซลล์ในร่างกายของคนเราเสื่อมเร็วจนเจ็บป่วยมาจากการได้รับสารพิษที่อันตราย ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ขณะที่การใช้สิ่งอื่นๆ ที่ทดแทนสารเคมีในการไล่แมลงได้ เช่น น้ำหมักชีวภาพ
“จึงอยากให้คนไทยหันมาดูว่า ถ้าเรารู้จักที่จะเรียนรู้ธรรมชาติ แล้วเอาธรรมชาติมาเกื้อกูลพวกเรา ในการแก้ปัญหาดังกล่าวแทนการใช้สารเคมี ทุกคนก็จะปลอดภัย” นางสถาพร กล่าว
วันนี้ (5 ต.ค.) นายชัยฤทธิ์ ถ่ายย้วน นายกสมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมัน จ.ตรัง พร้อมกรรมการสมาคมจำนวนหนึ่งได้ร่วมกันปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาการใช้สารเคมีของเกษตรกรในยุคปัจจุบัน ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนและกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยผลจากการศึกษา วิเคราะห์ และถกปัญหาร่วมกันของกรรมการสมาคมเพื่อศึกษาผลกระทบจากการใช้สารเคมี พบว่า มีสารเคมีอย่างน้อย 3 ชนิดในปัจจุบันที่เกษตรกรควรเลิกใช้ คือ (1) ไกลโฟเซต (2) พาราควอต และ (3) คลอไพรีฟอส เพราะนอกจากตกค้างในดินเป็นเวลานาน ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรเองด้วย
“จากการตรวจเลือดของสมาชิกกลุ่มปาล์มแปลงใหญ่ตามมาตรฐาน RSPO ในพื้นที่ ต.กะลาเส อ.สิเกา จ.ตรัง เพื่อหาสารตกค้างในเลือด จำนวน 32 คน พบว่า มีสารปนเปื้อนหรือสารตกค้างในเลือดถึง 28 คน โดยเป็นสารตกค้างในเลือดที่ร้ายแรงจะต้องทำการรักษา จำนวน 4 คน สมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมัน จ.ตรัง จึงขอเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตรายเพื่อจะได้ศึกษารายละเอียดในเชิงลึก และหากคณะกรรมการวัตถุอันตรายมีความเห็นไปในทิศทางใด สมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมัน จ.ตรัง ก็พร้อมจะยอมรับ”
นางสถาพร ธีรกิจไพศาล กรรมการสมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมัน จ.ตรัง กล่าวว่า ประเทศไทยมีอัตราการเจ็บป่วยค่อนข้างมาก โรคมะเร็งก็มีอัตราการตายอันดับ 1 และโรคอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เซลล์ในร่างกายของคนเราเสื่อมเร็วจนเจ็บป่วยมาจากการได้รับสารพิษที่อันตราย ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ขณะที่การใช้สิ่งอื่นๆ ที่ทดแทนสารเคมีในการไล่แมลงได้ เช่น น้ำหมักชีวภาพ
“จึงอยากให้คนไทยหันมาดูว่า ถ้าเรารู้จักที่จะเรียนรู้ธรรมชาติ แล้วเอาธรรมชาติมาเกื้อกูลพวกเรา ในการแก้ปัญหาดังกล่าวแทนการใช้สารเคมี ทุกคนก็จะปลอดภัย” นางสถาพร กล่าว
Tags
ข่าวเมืองตรัง