สหกรณ์กองทุนสวนยางใน จ.ตรัง หลายแห่งกำลังขาดทุนและอาจต้องปิดกิจการสิ้นปีนี้ เหตุจากราคายางที่ตกต่ำจนส่งผลต่อต้นทุนการผลิต เตรียมยื่น 4 ข้อเสนอต่อ รมว.เกษตรฯ เร่งแก้ปัญหา
วันนี้ (7 ต.ค.) นายบรรจง จีนหมั้น ผู้จัดการสหกรณ์กองทุนสวนยางหนองคล้า ต.เขาวิเศษ จ.ตรัง กล่าวว่า การที่ราคายางตกต่ำจนเหลือแค่ กก.ละ 30 บาทเศษๆ ในขณะนี้ได้สร้างผลกระทบให้แก่สหกรณ์สวนยางอย่างมาก อย่างสหกรณ์หนองคล้า รับซื้อน้ำยางจากเกษตรกรมา กก.ละ 33 บาท แล้วนำมาแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควันไปขายได้แค่ กก.ละ 35 บาท แต่มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ กก.ละ 6 บาท
ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้อีก 2 เดือน สหกรณ์สวนยางใน จ.ตรัง จะล้มตายไปทั้งหมด เพราะสหกรณ์ไม่มีเงินซื้อน้ำยาง ขณะที่ชาวสวนก็ไม่รู้จะเอาน้ำยางไปขายที่ไหน อย่างสหกรณ์หนองคล้า เคยมีผลประกอบการกำไรมาทุกปี รวม 10 ปีแล้ว แต่ปีนี้เริ่มขาดทุนเกือบๆ 6 แสนบาท ถ้าราคายางยังตกต่ำอยู่แบบนี้ สิ้นปีนี้สหกรณ์คงต้องหยุดประกอบการเพราะสู้ภาวะขาดทุนไม่ได้
โดยล่าสุด มียางแผ่นรมควันในสต๊อกประมาณ 5 หมื่นกิโลกรัม มูลค่าประมาณ 1.5 ล้านบาท ซึ่งไม่รู้จะเอาไปขายยังไง เพราะขณะซื้อน้ำยางราคา กก.ละ 35 บาท แต่ขณะนี้เหลือแค่ กก.ละ 33 บาทเท่านั้น นอกจากนั้น ยังมีเงินคงค้างจากชุมนุมสหกรณ์ ซึ่งเกิดปัญหาทุจริตภายในกันก่อนหน้ากับอีกกว่า 10 สหกรณ์ รวมทั้งกับสหกรณ์หนองคล้าอีกจำนวนหนึ่งด้วย
“ทั้งนี้ แม้ว่าในวันที่ 15 ธ.ค. รัฐบาลจะเริ่มชดเชยราคายางให้แก่เกษตรกรเป็น กก.ละ 57 บาท แต่เนื่องจากขณะนี้ยังเหลือเวลาอีกถึง 2 เดือนกว่าที่โครงการนี้จะเริ่ม และเกษตรกรยังคงต้องกรีดยางและต้องนำยางมาขายทุกวัน ซึ่งกว่าจะถึงวันนั้นสหกรณ์คงอยู่ไม่ได้แล้ว นอกจากรัฐบาลจะมีมาตรการแทรกแซงราคายางเพื่อช่วยเหลือสหกรณ์ออกมา ช่วยพยุงสถานะของสหกรณ์ให้สามารถประคองตัวเองเอาไว้ให้ได้ก่อน” นายบรรจง จีนหมั้น กล่าว
ด้าน นายประทบ สุขสนาน ประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดตรังและภาคใต้ กล่าวว่า ปัญหาในขณะนี้คือราคายางในตลาดกลางทั้ง 3 ตลาด คือ ที่สงขลา นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี ที่บริษัทเอกชนเข้าประมูลในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา มีราคาร่วงลงมาต่อเนื่อง ลักษณะเหมือนกับการฮั้วกัน ไม่ใช่เป็นการประมูลราคา แต่เป็นการกำหนดราคาเอาเองในตลาดกลางตามอำเภอใจ จึงอยากให้หน่วยธุรกิจ กยท.ลงมาดูแลปัญหานี้ ด้วยการเข้าไปประมูลยางในตลาดกลางเอง โดยเฉพาะในช่วงที่มีราคาตกลงมากๆ หลังจากที่ กยท.ได้หยุดดำเนินการไปเมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา
วันนี้ (7 ต.ค.) นายบรรจง จีนหมั้น ผู้จัดการสหกรณ์กองทุนสวนยางหนองคล้า ต.เขาวิเศษ จ.ตรัง กล่าวว่า การที่ราคายางตกต่ำจนเหลือแค่ กก.ละ 30 บาทเศษๆ ในขณะนี้ได้สร้างผลกระทบให้แก่สหกรณ์สวนยางอย่างมาก อย่างสหกรณ์หนองคล้า รับซื้อน้ำยางจากเกษตรกรมา กก.ละ 33 บาท แล้วนำมาแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควันไปขายได้แค่ กก.ละ 35 บาท แต่มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ กก.ละ 6 บาท
ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้อีก 2 เดือน สหกรณ์สวนยางใน จ.ตรัง จะล้มตายไปทั้งหมด เพราะสหกรณ์ไม่มีเงินซื้อน้ำยาง ขณะที่ชาวสวนก็ไม่รู้จะเอาน้ำยางไปขายที่ไหน อย่างสหกรณ์หนองคล้า เคยมีผลประกอบการกำไรมาทุกปี รวม 10 ปีแล้ว แต่ปีนี้เริ่มขาดทุนเกือบๆ 6 แสนบาท ถ้าราคายางยังตกต่ำอยู่แบบนี้ สิ้นปีนี้สหกรณ์คงต้องหยุดประกอบการเพราะสู้ภาวะขาดทุนไม่ได้
โดยล่าสุด มียางแผ่นรมควันในสต๊อกประมาณ 5 หมื่นกิโลกรัม มูลค่าประมาณ 1.5 ล้านบาท ซึ่งไม่รู้จะเอาไปขายยังไง เพราะขณะซื้อน้ำยางราคา กก.ละ 35 บาท แต่ขณะนี้เหลือแค่ กก.ละ 33 บาทเท่านั้น นอกจากนั้น ยังมีเงินคงค้างจากชุมนุมสหกรณ์ ซึ่งเกิดปัญหาทุจริตภายในกันก่อนหน้ากับอีกกว่า 10 สหกรณ์ รวมทั้งกับสหกรณ์หนองคล้าอีกจำนวนหนึ่งด้วย
“ทั้งนี้ แม้ว่าในวันที่ 15 ธ.ค. รัฐบาลจะเริ่มชดเชยราคายางให้แก่เกษตรกรเป็น กก.ละ 57 บาท แต่เนื่องจากขณะนี้ยังเหลือเวลาอีกถึง 2 เดือนกว่าที่โครงการนี้จะเริ่ม และเกษตรกรยังคงต้องกรีดยางและต้องนำยางมาขายทุกวัน ซึ่งกว่าจะถึงวันนั้นสหกรณ์คงอยู่ไม่ได้แล้ว นอกจากรัฐบาลจะมีมาตรการแทรกแซงราคายางเพื่อช่วยเหลือสหกรณ์ออกมา ช่วยพยุงสถานะของสหกรณ์ให้สามารถประคองตัวเองเอาไว้ให้ได้ก่อน” นายบรรจง จีนหมั้น กล่าว
ด้าน นายประทบ สุขสนาน ประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดตรังและภาคใต้ กล่าวว่า ปัญหาในขณะนี้คือราคายางในตลาดกลางทั้ง 3 ตลาด คือ ที่สงขลา นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี ที่บริษัทเอกชนเข้าประมูลในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา มีราคาร่วงลงมาต่อเนื่อง ลักษณะเหมือนกับการฮั้วกัน ไม่ใช่เป็นการประมูลราคา แต่เป็นการกำหนดราคาเอาเองในตลาดกลางตามอำเภอใจ จึงอยากให้หน่วยธุรกิจ กยท.ลงมาดูแลปัญหานี้ ด้วยการเข้าไปประมูลยางในตลาดกลางเอง โดยเฉพาะในช่วงที่มีราคาตกลงมากๆ หลังจากที่ กยท.ได้หยุดดำเนินการไปเมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา
Tags
ข่าวเมืองตรัง